วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติการละเล่นพื้นบ้านไทย


  ประวัติความเป็นมาของการละเล่นไทย              

สมัยสุโขทัย
                  การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำดับ เด็ก ๆ เห็นผู้ใหญ่ทำก็เลียนแบบนำดินมาปั้นเล่นบ้าง ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง สมัยสุโขทัยหลักที่ กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า “...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...” 
   

             สมัยกรุงศรีอยุธยา

                                      ในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้งกรุงเก่า ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล
                                          
ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา

สมัยรัตนโกสินทร์
     
ในเรื่อง อิเหนา วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า
“...บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น  เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด 
ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด          บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู 
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต    สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่ 
บ้างรำอย่างชวามลายู            เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี
หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า 
“...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี 
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี       ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน
             พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึง การละเล่นของเด็กไทยสมัยท่านไว้ใน “ ฟื้นความหลัง “ ว่า
             “ การละเล่นของเด็กปูนนี้ไม่ใช่มีปืน มีรถยนต์เล็กๆ อย่างที่เด็กเล่นกันเกร่ออยู่ในเวลานี้ ลูกหนัง สำหรับเล่น แม้ว่ามีแล้วราคาแพง และยังไม่แพร่หลาย ตุ๊กตาที่มีดื่น คือ ตุ๊ตาล้มลุก และตุ๊กตาพราหมณ์ นั่งท้าวแขน สำหรับเด็กผู้หญิงเล่น ตุ๊กตาเหล่านี้เด็กๆ ชาวบ้านไม่มีเล่น เพราะต้องซื้อ จะมีแต่ผู้ใหญ่ทำ ให้หรือไม่ก็เด็กทำกันเองตามแบบอย่างที่สืบต่อจำมาตั้งแต่ไหนก็ไม่ทราบ เช่น ม้าก้านกล้วย ตะกร้อสาน ด้วยทางมะพร้าวสำหรับโยนเตะเล่น หรือตุ๊กตาวัว ควาย ปั้นด้วยดินเหนียว
             ของเด็กเล่นที่สมัยนั้นนิยมเล่นกันคือ “ กลองหม้อตาล “ ในสมัยนั้นขายน้ำตาล เมื่อใช้หมดแล้ว เด็กๆ ก็นำมาทำเป็นกลอง มีวิธีทำคือ ใช้ผ้าขี้ริ้วหุ้มปากหม้อเอาเชือกผูกรัดคอหม้อให้แน่นแล้วเอาดิน เหนียวเหลวๆ ละเลงทาให้ทั่ว หาไม้เล็กๆ มาตีผ้าที่ขึงข้างๆ หม้อโดยรอบ เพื่อขันเร่งให้ผ้าตึงก็เป็นอันเสร็จ ตีได้ มีเสียงดัง กลองหม้อตาลของใครตีดังกว่ากันเป็นเก่ง ถ้าตีกระหน่ำจนผ้าขาดก็ทำใหม่
             เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบเล่น “ หม้อข้าวหม้อแกง “ หรือเล่นขายของหุงต้มแกงไปตามเรื่อง เอา เปลือกส้มโอ เปลือกมังคุด หรือใบก้นบิด ผสมด้วยปูนแดงเล็กน้อยคั้นเอาน้ำข้นๆ รองภาชนะอะไรไว้ไม่ช้า จะแข็งตัวเอามาทำเป็นวุ้น 
             คนไทยในอดีตมองการละเล่นของเด็กไปในแง่ของจิตวิทยา โดยตีความหมายของการแสดงออก ของเด็กไปในเชิงทำนายอนาคตหรือบุพนิมิตต่างๆ ความเชื่อเช่นนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน
        “ สวดมนต์ฉันเสร็จสำเร็จแล้ว           ฝ่ายข้างพลายแก้วอุตริว่า
เราเล่นเป็นผัวเมียกันเถิดเรา                  ขุนช้างร้องว่าข้าชอบใจ
   นางพิมว่าไปอ้ายนอกคอก                     รูปชั่วหัวถลอกกูหาเล่นไม่
     พลายแก้วว่าเล่นเถิดเป็นไร                    ให้ขุนช้างนั้นไซร้เป็นผัวนาง
    ตัวข้าจะย่องเข้าไปหา                          จะไปลักเจ้ามาเสียจากข้าง
         ทั้งสองคนรบเร้าเฝ้าชวนนาง                 จึงหักใบไม้วางต่างเตียงหมอน
         นางฉลาดกวาดทรายกลายเป็นเรือน       พูนขึ้นกล่นเกลื่อนดังฟูกหมอน
             นางพิมนอนพลางกลางดินดอน              เจ้าขุนช้างหัวกล้อนเข้านอนเคียง
   พลายแก้วโดดแหวกเข้าแทรกกลาง         ซุกหัวขุนช้างที่กลางเกลี้ยง
               ขุนช้างทำหลับอยู่ข้างเตียง                     ฝ่ายนางพิมนอนเคียงเข้าเมียงมอง
ขุนช้างวางร้องก้องกู่โว้ย                         ขโมยลักเมียกูจู่จากห้อง
     ลุกขึ้นงุนง่านเที่ยวซานร้อง                      เรียกหาพวกพ้องให้ติดตาม
…………………………. …………………………..
            ท่านผู้ฟังทั้งสิ้นอย่ากินแหนง                 จะประดิษฐ์คิดแต่งก็หาไม่
       เด็กอุตริเล่นหากเป็นไป                               เทวทูตดลใจให้ประจักษ์ตา
    เด็กเล่นสิ่งไรก็ไม่ผิด                                    ทุจริตก็เป็นเหมือนปากว่า
   อันคดีมีแต่โบราณมา                                 ตำรานี้มีอยู่ในสุพรรณฯ 
ปัจจุบัน
             การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษชุดขายของพลาสติกเลียนแบบของจริง วิดีโอเกม เด็กผู้ชายก็เล่นปืน จรวด เกมกด และเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งมีขายมากมาย และมีการละเล่นหลาย ชนิดที่นิยมเล่นทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง นอกจากนั้นยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อยๆ เลื่อนหายไปทีละน้อยๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ตั้งเต ตี่ ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
                                                     



ลักษณะของกิจกรรมบันเทิงที่จัดอยู่ในการละเล่น ได้แก่

  • การแสดงหมายถึง การละเล่นที่รวมทั้งที่เป็นแบบแผนและการแสดงทั่วไปของชาวบ้าน ในรูปแบบการร้อง การบรรเลง การฟ้อนรำ ซึ่งประกอบด้วยดนตรี เพลงและนาฏศิลป์
  • มหรสพหมายถึง การแสดงที่ฝ่ายบ้านเมืองจะเรียกเก็บค่าแสดงเป็นเงินภาษีแผ่นดินตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้ตั้งแต่พุทธศักราช 2404 เป็นต้นมา ประกาศมหรสพว่าด้วยการละเล่นหลายประเภท ดังนี้ ละคร งิ้ว หุ่น หนังต่างๆ เพลง สักวา เสภา ลิเก กลองยาว ลาวแพน มอญรำและทวายรำ พิณพาทย์ มโหรี กลองแขก คฤหัสถ์สวดศพ และจำอวด
  • กีฬาและนันทนาการ คือ การละเล่นเพื่อความสนุกสนานตามเทศกาลและเล่นตามฤดูกาล และการละเล่นเพื่อการแข่งขัน หรือกิจกรรมที่ทำตามความสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียด
การละเล่นของเด็กจะเริ่มตั้งแต่เป็นทารกแบเบาะะจนกระทั่งเจริญวัย มีการละเล่นง่ายๆอยู่ภายในบ้าน การละเล่นสนุกนอกบ้าน การละเล่นที่นำอุปกรณ์การเล่นมาจากวัสดุธรรมชาติ เป็นการเล่นที่มุ่งเพื่อการพัฒนาร่างกาย สมอง และจิตใจตามวัย การละเล่นไทยของเด็ก ดังตัวอย่างการละเล่นเด็กไทย เช่น การเล่นรีรีข้าวสาร การเล่นโพงพาง การเล่นจ้ำจี้ ฯลฯ
การละเล่นของผู้ใหญ่ มีความซับซ้อนในวิธีการเล่นตามประเภทการแสดง มีทั้งมุ่งแสดงเพื่อบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์อันเป็นพิธีกรรมการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระมหากษัตริย์ การสมโภชน์งานทางศาสนา และการสังสรรค์สนุกสนานของชาวบ้าน เช่น การแสดงละคร การฟ้อนรำ การแสดงโขน ลำตัด ลิเก ฯลฯ ลักษณะของการละเล่นพื้นเมือง
 
  ประวัติความเป็นมาของการละเล่นไทย              

สมัยสุโขทัย
                  การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำดับ เด็ก ๆ เห็นผู้ใหญ่ทำก็เลียนแบบนำดินมาปั้นเล่นบ้าง ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง สมัยสุโขทัยหลักที่ กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า “...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...” 
   

             สมัยกรุงศรีอยุธยา

                                      ในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้งกรุงเก่า ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล
                                          
ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา

สมัยรัตนโกสินทร์
     
ในเรื่อง อิเหนา วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า
“...บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น  เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด 
ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด          บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู 
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต    สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่ 
บ้างรำอย่างชวามลายู            เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี
หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า 
“...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี 
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี       ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน
             พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึง การละเล่นของเด็กไทยสมัยท่านไว้ใน “ ฟื้นความหลัง “ ว่า
             “ การละเล่นของเด็กปูนนี้ไม่ใช่มีปืน มีรถยนต์เล็กๆ อย่างที่เด็กเล่นกันเกร่ออยู่ในเวลานี้ ลูกหนัง สำหรับเล่น แม้ว่ามีแล้วราคาแพง และยังไม่แพร่หลาย ตุ๊กตาที่มีดื่น คือ ตุ๊ตาล้มลุก และตุ๊กตาพราหมณ์ นั่งท้าวแขน สำหรับเด็กผู้หญิงเล่น ตุ๊กตาเหล่านี้เด็กๆ ชาวบ้านไม่มีเล่น เพราะต้องซื้อ จะมีแต่ผู้ใหญ่ทำ ให้หรือไม่ก็เด็กทำกันเองตามแบบอย่างที่สืบต่อจำมาตั้งแต่ไหนก็ไม่ทราบ เช่น ม้าก้านกล้วย ตะกร้อสาน ด้วยทางมะพร้าวสำหรับโยนเตะเล่น หรือตุ๊กตาวัว ควาย ปั้นด้วยดินเหนียว
             ของเด็กเล่นที่สมัยนั้นนิยมเล่นกันคือ “ กลองหม้อตาล “ ในสมัยนั้นขายน้ำตาล เมื่อใช้หมดแล้ว เด็กๆ ก็นำมาทำเป็นกลอง มีวิธีทำคือ ใช้ผ้าขี้ริ้วหุ้มปากหม้อเอาเชือกผูกรัดคอหม้อให้แน่นแล้วเอาดิน เหนียวเหลวๆ ละเลงทาให้ทั่ว หาไม้เล็กๆ มาตีผ้าที่ขึงข้างๆ หม้อโดยรอบ เพื่อขันเร่งให้ผ้าตึงก็เป็นอันเสร็จ ตีได้ มีเสียงดัง กลองหม้อตาลของใครตีดังกว่ากันเป็นเก่ง ถ้าตีกระหน่ำจนผ้าขาดก็ทำใหม่
             เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบเล่น “ หม้อข้าวหม้อแกง “ หรือเล่นขายของหุงต้มแกงไปตามเรื่อง เอา เปลือกส้มโอ เปลือกมังคุด หรือใบก้นบิด ผสมด้วยปูนแดงเล็กน้อยคั้นเอาน้ำข้นๆ รองภาชนะอะไรไว้ไม่ช้า จะแข็งตัวเอามาทำเป็นวุ้น 
             คนไทยในอดีตมองการละเล่นของเด็กไปในแง่ของจิตวิทยา โดยตีความหมายของการแสดงออก ของเด็กไปในเชิงทำนายอนาคตหรือบุพนิมิตต่างๆ ความเชื่อเช่นนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน
        “ สวดมนต์ฉันเสร็จสำเร็จแล้ว           ฝ่ายข้างพลายแก้วอุตริว่า
เราเล่นเป็นผัวเมียกันเถิดเรา                  ขุนช้างร้องว่าข้าชอบใจ
   นางพิมว่าไปอ้ายนอกคอก                     รูปชั่วหัวถลอกกูหาเล่นไม่
     พลายแก้วว่าเล่นเถิดเป็นไร                    ให้ขุนช้างนั้นไซร้เป็นผัวนาง
    ตัวข้าจะย่องเข้าไปหา                          จะไปลักเจ้ามาเสียจากข้าง
         ทั้งสองคนรบเร้าเฝ้าชวนนาง                 จึงหักใบไม้วางต่างเตียงหมอน
         นางฉลาดกวาดทรายกลายเป็นเรือน       พูนขึ้นกล่นเกลื่อนดังฟูกหมอน
             นางพิมนอนพลางกลางดินดอน              เจ้าขุนช้างหัวกล้อนเข้านอนเคียง
   พลายแก้วโดดแหวกเข้าแทรกกลาง         ซุกหัวขุนช้างที่กลางเกลี้ยง
               ขุนช้างทำหลับอยู่ข้างเตียง                     ฝ่ายนางพิมนอนเคียงเข้าเมียงมอง
ขุนช้างวางร้องก้องกู่โว้ย                         ขโมยลักเมียกูจู่จากห้อง
     ลุกขึ้นงุนง่านเที่ยวซานร้อง                      เรียกหาพวกพ้องให้ติดตาม
…………………………. …………………………..
            ท่านผู้ฟังทั้งสิ้นอย่ากินแหนง                 จะประดิษฐ์คิดแต่งก็หาไม่
       เด็กอุตริเล่นหากเป็นไป                               เทวทูตดลใจให้ประจักษ์ตา
    เด็กเล่นสิ่งไรก็ไม่ผิด                                    ทุจริตก็เป็นเหมือนปากว่า
   อันคดีมีแต่โบราณมา                                 ตำรานี้มีอยู่ในสุพรรณฯ 
ปัจจุบัน
             การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษชุดขายของพลาสติกเลียนแบบของจริง วิดีโอเกม เด็กผู้ชายก็เล่นปืน จรวด เกมกด และเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งมีขายมากมาย และมีการละเล่นหลาย ชนิดที่นิยมเล่นทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง นอกจากนั้นยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อยๆ เลื่อนหายไปทีละน้อยๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ตั้งเต ตี่ ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
                                                     



ลักษณะของกิจกรรมบันเทิงที่จัดอยู่ในการละเล่น ได้แก่

  • การแสดงหมายถึง การละเล่นที่รวมทั้งที่เป็นแบบแผนและการแสดงทั่วไปของชาวบ้าน ในรูปแบบการร้อง การบรรเลง การฟ้อนรำ ซึ่งประกอบด้วยดนตรี เพลงและนาฏศิลป์
  • มหรสพหมายถึง การแสดงที่ฝ่ายบ้านเมืองจะเรียกเก็บค่าแสดงเป็นเงินภาษีแผ่นดินตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้ตั้งแต่พุทธศักราช 2404 เป็นต้นมา ประกาศมหรสพว่าด้วยการละเล่นหลายประเภท ดังนี้ ละคร งิ้ว หุ่น หนังต่างๆ เพลง สักวา เสภา ลิเก กลองยาว ลาวแพน มอญรำและทวายรำ พิณพาทย์ มโหรี กลองแขก คฤหัสถ์สวดศพ และจำอวด
  • กีฬาและนันทนาการ คือ การละเล่นเพื่อความสนุกสนานตามเทศกาลและเล่นตามฤดูกาล และการละเล่นเพื่อการแข่งขัน หรือกิจกรรมที่ทำตามความสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียด
การละเล่นของเด็กจะเริ่มตั้งแต่เป็นทารกแบเบาะะจนกระทั่งเจริญวัย มีการละเล่นง่ายๆอยู่ภายในบ้าน การละเล่นสนุกนอกบ้าน การละเล่นที่นำอุปกรณ์การเล่นมาจากวัสดุธรรมชาติ เป็นการเล่นที่มุ่งเพื่อการพัฒนาร่างกาย สมอง และจิตใจตามวัย การละเล่นไทยของเด็ก ดังตัวอย่างการละเล่นเด็กไทย เช่น การเล่นรีรีข้าวสาร การเล่นโพงพาง การเล่นจ้ำจี้ ฯลฯ
การละเล่นของผู้ใหญ่ มีความซับซ้อนในวิธีการเล่นตามประเภทการแสดง มีทั้งมุ่งแสดงเพื่อบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์อันเป็นพิธีกรรมการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระมหากษัตริย์ การสมโภชน์งานทางศาสนา และการสังสรรค์สนุกสนานของชาวบ้าน เช่น การแสดงละคร การฟ้อนรำ การแสดงโขน ลำตัด ลิเก ฯลฯ ลักษณะของการละเล่นพื้นเมือง

3 ความคิดเห็น:

  1. ส่งครู เยยลี่ ครับ

    ตอบลบ
  2. อยากทราบแหล่งข้อมูลของเนื้อหาทั้งหมดคะ
    พอดีจะทำรายงานคะ

    ตอบลบ
  3. อยากทราบแหล่งข้อมูลของเนื้อหาทั้งหมดคะ
    พอดีจะทำรายงานคะ

    ตอบลบ