วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้อาทิ




ชื่อลิเกป่า
ภาคภาคใต้
จังหวัดกระบี่


ความเป็นมา
การเล่นลิเกป่าในจังหวัดกระบี่ สืบทอดกันมาไม่น้อยกว่า ๘๐ - ๑๐๐ ปีมาแล้วสันนิษฐานว่าน่าจะพัฒนาจากการเล่นของอาหรับเหมือนลิเกอื่นๆ คือ สืบเนื่องจากการสรรเสริญพระเจ้า บ้างก็ว่าดัดแปลงคำสวดมาประสมกับการสวดคฤหัสถ์ประสมดนตรีรำมะนา เรียกว่า ลิเกปันตน มีคำร้องภาษามาลายูปนภาษาไทยท้องถิ่น ต่อมามีการแต่งจำอวดออกมาเล่นเป็นชุดๆเรียกว่า "ลิเกสิบสองภาษา" แล้วมาแยกเล่นออกเป็น ๒ สาขา คือ
๑.ละกูเยา เป็นการร้องกลอนแก้กัน เป็นต้นทางของลำตัดและลิเกฮูลู
๒.อันดาเลาะ แสดงเบ็ดเตล็ดชุดภาษาต่างๆ เป็นต้นทางให้เกิดลิเก เช่น ลิเกทรงเครื่อง, ลิเกป่า ฯลฯ
บทเพลงที่ใช้ก็มี ๒ พวก คือ เพลงไอ้พิมเพเล ได้แก่ เพลงที่ลิเกทรงเครื่องใช้อยู่ทั่วไปและเพลงบุรันยาวา คือเพลงที่พวกลิเกป่าใช้
ลิเกป่าจึงน่าจะพัฒนามาจากลิเกสิบสองภาษาดังกล่าวแล้ว แต่ชุดที่ลิเกป่านิยมนำออกแสดงคือชุดแขกแดง ซึ่งถือเป็นชุดครู หลังจากนั้นจะแสดงชุดอื่นๆก็ได้ สรุปได้ว่าลิเกทุกชนิดมีแขกเป็นครูแน่นอน พวกลิเกป่าในจังหวัดกระบี่ในพิธีไหว้ครูจะต้องออกชื่อ" ผีชิน " เสมอ (ชิน- ยิน -ยินี เป็น ภาษาอาหรับ แปลว่า ผี , วิญญาณ, บรรพบุรุษ แขกแดง - จึงน่าจะหมายถึงแขกอาหรับ)
อุปกรณ์การเล่นและวิธีการเล่น
อุปกรณ์
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงลิเกป่า ประกอบด้วยรำมะนา ๒ ใบ กลอง โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และอาจมีการประสมประสานดนตรีชนิดอื่นๆบ้าง
การแต่งกาย ตัวเอกของเรื่องจะแต่งตัวแบบแขกสมัยก่อนนุ่งผ้าโจงกระเบน ปัจจุบันสวมกางเกงมีผ้าโสร่งคาดทับ สวมเสื้อสวมหมวกแขกหรือไม่ก็โพกศีรษะให้เหมือนแขก แต่งหน้าใส่หนวดเครา เสริมจมูก ตัวนางเอก (ยาหยี/ ยายี) แต่งกายแบบพื้นบ้านทางฝั่งทะเลตะวันตก คือนุ่งผ้าถุง สวมเสื้อแขนกระบอก มีผ้าคล้องไหล่ (แบบชุดย่าหยา) ตัวอื่นๆ แต่งตามความนิยม ถ้าแสดงชุดอื่น ๆ ที่มิใช่ชุดแขกแดงก็แต่งตัวตามท้องเรื่อง
วิธีการเล่น
๑.ดนตรีโหมโรงเสร็จแล้วไหว้ครู
๒.ว่าเพลงวง
๓.บอกชุด (ทั้ง ๑๒ ชุด ของลิเกสิบสองภาษาว่ามีอะไรบ้าง)
๔.ออกแขกแดง
๕.แสดงเรื่องของชุดแขกแดงไปจนจบ
๖.พิธีส่งครู เป็นการจบการแสดง
หลังจากจบชุดแขกแดงถ้าต้องการแสดงเรื่องอื่นๆต่อไปก็ได้ตามความต้องการเสร็จแล้วจึงส่งครูก่อนเลิกการแสดง
ภาษาที่ใช้ ตัวแขกแดงจะพูดภาษาไทยท้องถิ่นดัดเสียงให้รัวเหมือนแขก ตัวเสนา จะพูดภาษาท้องถิ่น เจ้าเมืองจะพูดภาษากลาง ยาหยีพูดสำเนียงท้องถิ่น
เนื้อเรื่อง ชุดแขกแดงมีว่า " มีแขกมาจากเมืองกะตา (กัลกัตตา ?) บ้างก็ว่ามาจากเมืองโอปุระ สุไหงปุระมาค้าขายทางฝั่งทะเลตะวันตกของไทย มาได้ภรรยา (ยายี / ยาหยี) เป็นสาวไทย อยู่มาวันหนึ่งแขกมีความคิดถึงบ้าน ก็ขึ้นไปร่ำลาเจ้าเมืองเพื่อเดินทางไปเยี่ยมบ้านเจ้าเมืองให้เสนาไปด้วยคนหนึ่ง แขกกับเสนาร่ำลาเจ้าเมืองไปหายาหยี ครั้งแรกยาหยีไม่ยอมเดินทางไปด้วยเพราะเป็นห่วงพ่อแม่ แขกทั้งปลอบทั้งขู่จนกระทั่งยาหยียอมไป ทั้งหมดลงเรือไปในทะเล ชมนก ชมปลา ไปเรื่อยจนกระทั่งถึงเมืองลักกะตา "
โอกาสที่เล่น
ลิเกป่าแสดงได้เกือบทุกงาน แล้วแต่เจ้าภาพจะรับไปแสดง โรงลิเกป่าเหมือนกับโรงมโนห์รา มีหลังคายกพื้นให้สูงขึ้นเพื่อความสะดวกของผู้ชม สมัยก่อนนั้นแสดงบนพื้นดินซึ่งไม่สะดวกมีฉากประกอบเหมือนมโนห์ราหรือลิเกอื่นๆทั่วไป การที่เรียกลิเกชนิดนี้ว่าลิเกป่า เห็นทีจะสืบเนื่องมาจากการเล่นที่ไม่ยึดถือแบบฉบับที่แน่นอน ขาดความสมบูรณ์ในทุกด้าน
ปัจจุบันลิเกป่าเสื่อมความนิยมลงไปมาก เพราะการแสดงและสิ่งบันเทิงอื่นๆมีอิทธิพลมากกว่า ผู้คนจึงรู้จักลิเกป่าน้อยลง ผู้ที่เล่นลิเกป่าได้จึงมักจะเป็นผู้สูงอายุ พร้อมที่จะล้มหายตายจากไปกับกาลเวลา ดังนั้นในระยะอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ถ้าหากไม่มีการอนุรักษ์การเล่นชนิดนี้ไว้ ก็คงจะหาดูลิเกป่าไม่ได้อีกเลย
คุณค่า
ลิเกป่านิยมเล่นกันแถบชนบท บ้านนาบ้านป่า เป็นการหาความสนุกสนานในยามว่างงาน เป็นลิเกสมัครเล่นไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหลัก นิยมเล่นกันแถบชนบท บ้านนาบ้านป่า เป็นการหาความสนุกสนานในยามว่างงาน เป็นลิเกสมัครเล่นไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหลัก แต่ถ้าใครรับไปแสดงในงานต่างๆ ก็จะรวมสมัครพรรคพวกไปเล่นได้ อัตราค่าแสดงก็ไม่แน่นอนแล้วแต่ข้อตกลงกับเจ้าภาพ เช่น ระยะเวลาที่แสดง ระยะทางและค่าพาหนะในการเดินทาง เป็นต้น

การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้อาทิ




ชื่อ
การแข่งเรือ
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดกาฬสินธุ์


อุปกรณ์ และวิธีเล่น
อุปกรณ์
๑. เรือยาวขุดด้วยไม้
๒. ฝีพาย ๔๐ คน
๓. กลอง-พังฮาด-ฉาบ-กิ่ง หรือ เครื่องดนตรีอื่น (สำหรับบรรเลงอยู่ในเรือ)

วิธีเล่น / กติกา
การจัดการแข่งขัน
รอบแรก กรรมการรับสมัครเรือจำนวน ๑๖ ลำ จับสลากแบ่งสายออกเป็น ๔ สาย แข่งขันแบบพบกันหมดในสาย เปลี่ยนลู่น้ำ นำเรือที่ได้คะแนนที่ ๑-๒ ของแต่ละสายไปจับสลากแบ่งออกเป็น ๒ สาย (สาย ก - ข) เพื่อแข่งขันในรอบที่ ๒
รอบที่สอง ดำเนินการแข่งขันเหมือนรอบแรก เรือที่มีคะแนนที่ ๑ - ๒ มีสิทธิ์เข้าแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ
รอบรองชนะเลิศ จัดแข่งขันดังนี้
คู่ที่ ๑ เรือชนะที่ ๑ สาย ก. พบกับเรือที่ ๒ สาย ข.
คู่ที่ ๒ เรือชนะที่ ๑ สาย ข. พบกับเรือที่ ๒ สาย ก.
การแข่งขันในแต่ละคู่เปลี่ยนทางน้ำมีผลแพ้ - ชนะ ๒ ใน ๓ เที่ยว เพื่อหาเรือไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ
รอบชิงชนะเลิศ จัดแข่งขันดังนี้
- นำเรือที่ชนะของแต่ละคู่ของรอบรองชนะเลิศมาแข่งขันชิงที่ ๑ และ ๒
- นำเรือที่แพ้ของแต่ละคู่ของรอบรองชนะเลิศมาแข่งขันชิงที่ ๓ และ ๔
- แพ้-ชนะ ๒ ใน ๓ เที่ยว

กติกาการแข่งขัน
๑. เรือทุกลำที่เข้าทำการแข่งขันต้องมาให้ถึงสนามแข่งขันก่อนเวลา ๐๘.๐๐ น. ของวันที่ทำการแข่งขัน พร้อมให้ตัวแทน หรือหัวหน้าเรือ ไปรายงานตัวต่อคณะกรรมการที่กองอำนวยการ ถ้าเรือใดมาช้ากว่ากำหนด กรรมการจะพิจารณาเป็นรายๆไป และเรือลำใดที่ไม่ลงเทียบท่าในเวลา ๐๙.๐๐ น. ซึ่งเป็นพิธีเปิดคณะกรรมการจะพิจารณาตัดเงินค่าเทียบท่าลำละ ๓๐๐ บาท
๒. เรือทุกลำที่ทำการแข่งขันต้องวิ่งในลู่ที่กำหนด ถ้ามีการตัดลู่น้ำจะโดยเจตนา หรือไม่ก็ตาม คณะกรรมการจะปรับแพ้ในเที่ยวนั้น
๓. เรือทุกลำต้องพร้อมที่จะเข้าทำการแข่งขันได้ทันทีเมื่อถึงเวลากำหนดในสูจิบัตร และเมื่อกรรมการจุดปล่อยเรือเรียกเข้าประจำที่ ถ้าเข้าประจำที่ช้าเกินกว่า ๕ นาที หลังจากคณะกรรมการเรียกแล้วจะถูกปรับแพ้ในเที่ยวนั้น และให้คณะกรรมการปล่อยเรือคู่แข่งพายตามลู่น้ำของตนลงมาถึงเส้นชัยจึงจะถือว่าเป็นฝ่ายชนะ หากเรือลำใดไม้คาดแตกหรือหัก กรรมการจะอนุญาตให้เปลี่ยนไม้คาดใหม่ ภายในเวลาไม่เกิน ๒๐ นาที ถ้าเกินจะปรับเป็นแพ้ โดยให้ไปรายงานกับกรรมการจุดปล่อยเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และจับเวลา
๔. เรือทุกลำห้ามถอดหัวเรือในขณะทำการแข่งขัน
๕. เมื่อเรือแต่ละลำทำการแข่งขันของแต่ละเที่ยวผ่านไปแล้ว ให้รีบกลับไปลอยลำ รอการแข่งขันในเที่ยวต่อไป ณ จุดปล่อยเรือ โดยล่องเรือเลียบฝั่งทิศเหนือ
๖. ในขณะทำการแข่งขันหากฝีพายของเรือลำใดตกลงจากเรือจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม คณะกรรมการจะปรับให้แพ้ในเที่ยวนั้น แต่ถ้าฝีพายตกด้วยกันทั้งสองลำ กรรมการจะตัดสินให้เรือที่ถึงเส้นชัยก่อนเป็นลำชนะ
๗. ห้ามเรือทุกลำทำการฝึกซ้อมในสนามแข่งขันหลังจากพิธีเปิดทำการแข่งขันของแต่ละวัน
๘. คะแนนในการแข่งขันรอบที่ ๑ และรอบที่ ๒ เรือชนะได้ ๓ คะแนน เรือเสมอกันให้ลำละ ๑ คะแนน และเรือแพ้ได้ ๐ คะแนน
๙. หากเรือลำใดมีคะแนนเท่ากันในรอบคัดเลือก (รอบที่ ๑ หรือรอบที่ ๒) ให้จับสลากลู่น้ำแข่งขันกันใหม่ เพื่อหาลำชนะเข้ารอบต่อไป โดยแข่งเที่ยวเดียว
๑๐. การปล่อยเรือในส่วนถาวรของเรือเสมอกัน และการตัดสิน แพ้- ชนะ ของคณะกรรมการจะตัดสินส่วนถาวรของเรือถึงเส้นชัยเป็นเกณฑ์
๑๑. ให้เรือทุกลำที่ทำการแข่งขันของแต่ละวัน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการไว้ลำละ ๑ คน เพื่อติดต่อประสานงานตลอดจนร่วมแก้ปัญหาอันอาจมีขึ้นกับฝ่ายจัดการแข่งขัน
๑๒. ถ้าฝีพายหรือตัวแทนเรือลำใดมีกริยา วาจาไม่สุภาพเรียบร้อยต่อคณะกรรมการดำเนินการทำให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง คณะกรรมการอาจพิจารณาปรับให้เรือลำนั้นแพ้ฟาล์ว และปรับไม่ให้เข้าร่วมแข่งขันในสนามนี้อีก เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี
๑๓. การตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเด็ดขาด หากเรือลำใดจะประท้วงให้ยื่นคำร้องขอประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อคณะกรรมการรับการประท้วง พร้อมทั้งหลักฐาน และเงินค่าประกันครั้งละ ๑๐๐ บาท และจะคืนเงินค่าประกัน ถ้าการประท้วงเป็นผล และให้ยื่นประท้วงภายในเวลา ๒๐ นาที หลังจากการแข่งขันเรือในเที่ยวนั้นๆ

โอกาส หรือเวลาที่เล่น
การแข่งเรือจะแข่งในเทศกาลน้ำหลาก คือในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ของทุกปี

คุณค่า / แนวคิด / สาระ
การแข่งเรือเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน บ่งบอกถึงความเป็นไทย เป็นการอนุรักษ์มรดกไทย และเสริมสร้างความสนุกสนาน ทั้งผู้ชม และผู้เข้าแข่งขัน และก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในท้องถิ่น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ชุมชน ดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เป็นการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่ไว้เป็นสมบัติชั่วลูก ชั่วหลาน


การละเล่นพื้นบ้านของภาคกลางอาทิ




ชื่อตี่จับ
ภาคภาคกลาง
จังหวัดกรุงเทพมหานคร


อุปกรณ์และวิธีการเล่น
การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง แล้ววิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ ในขณะที่ร้อง "ตี่" นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง "ตี่" ไว้ ถ้าคนร้อง "ตี่" เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง "ตี่" หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง "ตี่" แตะตัวฝ่ายรับได้ คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง "ตี่" ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
มักจะเล่นในเวลาว่างจากภารกิจทั้งปวง เช่น เวลาพักหลังเลิกเรียน หรือภายหลังจากทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว

คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน

การละเล่นพื้นบ้านของภาคเหนืออาทิ






ชื่อ

การละเล่นไม้หึ่ง หรืออีหึ่ง
ภาคภาคเหนือ
จังหวัดกำแพงเพชร

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวนการเล่น
วิธีการเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุดไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะ
พยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทางจมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อเช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกมนั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดยใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เป็นการเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ - ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัด

คุณค่า / แนวคิด / สาระ
เป็นการเล่นที่ง่ายไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์และการเก็บรักษาอุปกรณ์ เนื่องด้วยไม้ที่ ใช้เล่นนิยมใช้ไม้สดเนื่องจากมีน้ำหนักในการใช้โยนหรือตีได้ไกล และเป็นการเล่นที่ต้องใช้ทักษะการงัด ให้ได้ไกล ดังนั้นจะต้องวางไม้ลูกให้ได้จุดกึ่งกลาง วางมุมไม้แม่ให้ได้องศาการดีดขึ้น ฝ่ายรับจะต้องมีทักษะการรับประสาทสั่งการความสัมพันธ์ของสายตาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่ละช่วงของการเล่นจะมีเทคนิคการเล่นที่ต้องใช้ความสังเกต และฝึกความชำนาญในโอกาสต่อไป เช่น คนที่เล่นได้ดีคือจะงัดให้ไกลหรือเดาะได้จำนวนครั้งได้มาก และเวลาไม้ตีลูกก็จะได้ไกลเนื่องจากในขณะตีนั้นจะต้อง ให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างการปล่อยมือไม้ลูกและไม้แม่ให้ตรงจุดกึ่งกลางศูนย์กลางของน้ำหนัก เช่นเดียวกับการตีเทนนิส หรือแบดมินตัน หรือเบสบอลและฝึกความแม่นยำในการโยนกลับ หรือพัดลูกกอล์ฟบนกรีนหรือเปตอง

การละเล่นของเด็กไทย




การเล่นกับเด็กเป็นของคู่กันมาตั้งแต่กาลครั้งไหน คงไม่มีใครทราบได้ แต่การเล่นก็เป็นเรื่องที่สืบ เนื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ของชนชาติหรือท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดเข้าสู่กระแสชีวิตและตกทอดกันมาตั้งแต่ รุ่นปู่ย่าตายายของปู่ย่าตายายโน่น เอาตั้งแต่เมื่อเราเกิดมาลืมตาดูโลกก็คงจะได้เห็นปลาตะเพียนที่ผู้ใหญ่แขวน ไว้เหนือเปลให้เด็กดู เล่น เป็นการบริหารลูกตา แหวกว่ายอยู่ในอากาศแล้ว พอโตขึ้นมาสัก 3-4 เดือน ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น จับปูดำ ขยำปูนา แกว่งแขนอ่อน เดินไว ๆ ลูกร้องไห้ วิ่งไปวิ่งมา โดยที่จะคิดถึงจุดประสงค์อื่นใดหรือไม่สุดรู้ แต่ผลที่ตามมานั้นเป็นการหัดให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อแขนประสานกับสายตา

การละเล่นเป็นการส่งเสริมให้เด็ก ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเป็นกิจกรรมที่แฝงไว้ ด้วยสัญลักษณ์ หากศึกษาการเล่นของเด็กในสังคม เท่ากับได้ศึกษาวัฒนธรรมของสังคมนั้นด้วย การละเล่นของเด็กไทย มีความหลากหลาย เช่น หมากเก็บ ว่าว โพงพาง รีรีข้าวสาร เป็นต้น

การละเล่นของเด็กแบบไทย ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร
ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มาอ้างพอเป็นหลักฐานได้ราง ๆ ว่า
“..ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน...”
ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า “...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...” 
ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า 
เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา
 เมื่อนั้น
 โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา
ในเรื่อง 
อิเหนา วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า
“...บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น 
เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด 
ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด 
บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู 
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต 
สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่ 
บ้างรำอย่างชวามลายู 
เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี
หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า 
“...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง 
กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี 
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี 
ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน

ประเภทของการละเล่น
เนื่องจากการละเล่นของไทยเรานั้นมีมากมายจนนึกไม่ถึง (กรมพลศึกษารวบรวมไว้ได้ถึง 1,200 ชนิดแต่พอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น 2ประเภท ใหญ่ ๆ คือ การละเล่นกลางแจ้ง และการละเล่นในร่ม และในแต่ละประเภทก็ยังแบ่งย่อยอีกเป็นการละเล่นที่มีบทร้องประกอบ กับที่ไม่มีบทร้องประกอบ
การละเล่นกลางแจ้งที่มีบทร้องประกอบได้แก่ โพงพาง เสือไล่หมู่ อ้ายเข้อ้ายโขง ซ่อนหาหรือโป้งแปะ เอาเถิด มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร ที่มีคำโต้ตอบ เช่น งูกันหาง แม่นาคพระโขนง มะล็อกก๊อกแก็ก เขย่งเก็งกอย ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น ลูกดิ่ง ลูกข่าง ลูกหิน เตยหรือตาล่อง ข้าวหลามตัด วัวกระทิง ลูกช่วง ห่วงยาง เสือข้ามห้วยเคี่ยว เสือข้ามห้วยหมู่ ตี่จับ แตะหุ่น ตาเขย่ง ยิงหนังสะติ๊ก ปลาหมอ ตกกะทะ ตีลูกล้อ การเล่นว่าว กระโดดเชือกเดี่ยว กระโดดเชือกคู่ กระโดดเชือกหมู่ ร่อนรูป หลุมเมือง ทอดกะทะ หรือหมุนนาฬิกา ขี่ม้าส่งเมือง กาฟักไข่ ตีโป่ง ชักคะเย่อ โปลิศจับขโมย สะบ้า เสือกันวัว ขี่ม้าก้านกล้วย กระดานกระดก วิ่งสามขา วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทน ยิงเป็นก้านกล้วย การละเล่นในร่มที่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ขี้ตู่กลางนา ซักส้าว โยกเยก แมงมุม จับปูดำขยำปูนา จีจ่อเจี๊ยบ เด็กเอ๋ยพาย จ้ำจี้ 
ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ดีดเม็ดมะขามลงหลุม อีขีดอีเขียน อีตัก เสือตกถัง เสือกันวัว หมากกินอิ่ม สีซอ หมากเก็บ หมากตะเกียบ ปั่นแปะ หัวก้อย กำทาย ทายใบสน ตีไก่ เป่ากบ ตีตบแผละ กัดปลา นาฬิกาทางมะพร้าว กงจักร ต่อบ้าน พับกระดาษ ฝนรูป จูงนางเจ้าห้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่เช่นเล่นเป็นพ่อเป็นแม่ เล่นแต่งงาน เล่นหม้อข้าวหม้อแกง แคะขนมครกเล่นขายของ เล่นเข้าทรง ทายคำปริศนา นอกจากนั้นยังมีทบร้องเล่น เช่น จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกงแกง....และบทล้อเลียน เช่น ผมจุก คลุกน้ำปลา เห็นขี้หมานั่งไหว้กระจ๊องหง่อง เป็นต้น การละเล่นที่เล่นกลางแจ้งหรือในร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก ขายแตงโม เก้าอี้ดนตรี แข่งเรือคน ดมดอกไม้ปิดตาตีหม้อ ปิดตาต่อหาง โฮกปี๊บ เป่ายิงฉุบ

เด็กแต่ละภาคเล่นเหมือนกันหรือไม่
เนื่องจากในแต่ละภาคมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ทำให้การละเล่นของเด็ก แต่ละภาคมีความแตกต่างกันไปบ้างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น กติกา และอุปกรณ์การละเล่น แต่โดยส่วนรวมแล้วลักษณะการเล่นจะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่
ความแตกต่างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น
การละเล่นซึ่งมีบทร้องประกอบ บางอย่างมีลักษณะคล้ายกันหรือเหมือน ๆ กัน แต่บทร้องจะแตกต่างไปตามภาษาท้องถิ่น และเนื้อความซึ่งเด็กเป็นผู้คิดขึ้น เช่น การละเล่นจ้ำจี้ หรือ ปะเปิ้มใบพลูของภาคเหนือ จ้ำมู่มี่ของภาคอีสาน และจุ้มจี้ของภาคใต้บทร้องจ้ำจี้ภาคกลางมีหลายบท แต่บทที่เป็นที่เด็กภาคกลางร้องกันเป็น เกือบทุกคนคือ


จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น 

พายเรือออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม 
สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด เอากระจกที่ไหนส่อง 
เยี่ยม ๆ มอง ๆ นกขุนทองร้องวู้
ปะเปิ้มใบพลูของเด็กเหนือ เป็นการละเล่นเพื่อเสี่ยงทาย เลือกข้าง ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้นคนละมือ คนหนึ่งในวงจะร้องว่า
ปะเปิ้มใบพลู คนใดมาจู เอากูออกก่อน
หรือ จำปุ่นจำปู ปั๋วใครมาดู เอากูออกก่อน
หรือ จ้ำจี้จ้ำอวด ลูกมึงไปบวช สึกออกมาเฝียะอีหล้าท้องป่อง
จ้ำมู่มี่ของเด็กอีสาน เล่นทำนองเดียวกับจ้ำจี้ของภาคกลาง แต่ถ้าคำสุดท้ายไปตกที่ผู้ใดผู้นั้นต้องเป็นคนปิดตานับหนึ่งถึงยี่สิบ แล้วคนอื่นไปซ่อน เป็นการผนวกการละเล่นซ่อนหาเข้ามาด้วย บทร้องจ้ำมู่มี่มีทั้งสั้นและยาว 
อย่างสั้นคือ
 จ้ำมู่มี่ มูหมก มูมน หักขาคนใส่หน้านกก๊ด หน้าลิง หน้าลาย หน้าผีพราย หน้าหยิบ หน้าหย่อม ผอมแปํะอย่างยาว คือ จ้ำมู่มี่ มูมน หักคอคนใส่หน้านกก๊ด หน้าลิง หน้าลาย หน้าผีพราย หน้าจิ๊ก หน้าก่อ หน้าหย่อมแยะ แม่ตอและ ตอหาง ตอไก่ แล้วไปฝึก ไปฟัน ให้เวียงจันทน์ คือแหวนข้างซ้ายย้ายออกตอกสิ่ว ลิวเปี๊ยะ ฉี่ไก่เปี๊ยะ ติดหางนกจอก แม่มันบอก ไก่น้อยออกซะ
การละเล่นจุ้มจี้ของเด็กภาคใต้ ก็เพื่อจะเล่นซ่อนหาเช่นกัน โดยคนที่เหลือเป็นคนสุดท้ายจากการละเล่นจุ้มจี้ จะเป็นผู้ผิดตาหาเพื่อน ๆ
เพลงที่ร้องประกอบมีหลายบท แตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น จะยกตัวอย่างมา 2 บทดังนี้
จุ้มจี้จุ้มปุด จุ้มแม่สีพุด จุ้มใบหร้าหร้า พุทราเป็นดอก หมากงอกเป็นใบ พุ้งพิ้งลงไป ว่ายน้ำตุกติก
จุ้มจี้จุมจวด จุ้มหนวดแมงวัน แมงภู่จับจันทน์แมงวันจับผลุ้ง ฉีกใบตองมารองข้าวแขก น้ำเต้าแตกแหกดังโผลง ช้างเข้าโรง อีโมงเฉ้ง แม่ไก่ฟักร้องก๊อกก๊อก ทิ่มคางคก ยกออกยกออก

อุปกรณ์การละเล่นของแต่ละท้องถิ่น
ในแต่ละท้องถิ่น เด็ก ๆ จะคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบการละเล่นหรือทำของเล่นขึ้นมาเอง โดยนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติหาได้ใกล้ตัวมาใช้ เช่น

เด็กภาคเหนือ จะนำมะม่วงขนาดเล็กที่กินไม่ได้มาร้อยเชือกแล้วใส่เดือย นำมาใช้ตีกันเรียกว่าเล่นไก่มะม่วง
 หรือนำเอาไม้เล็ก ๆ มาเล่นกับลูกมะเขือ หรือมะนาวเรียกว่า หมากเก็บ
ไม้หรือไม้แก้งขี้ เล่นเก็บดอกงิ้ว ซึ่งคนเล่นจะรอให้ดอกงิ้วหล่น ใครเห็นก่อนก็ร้อง 
อิ๊บ” มีสิทธิ์ได้ดอกงิ้วดอกนั้นไปร้อยใส่เถาวัลย์ ใครได้มากที่สุดก็ชนะ
เล่นบ่าขี้เบ้าทรายก็ใช้ทรายปนดินที่นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ มากลิ้งในร่องซึ่งขุดกันริมตลิ่งแม่น้ำนั่นเอง ของเล่นที่ทำกันก็เช่น

·        กล้องกบ ใช้ลำไม้ไผ่มีรูกลวงเล็ก ๆ และไม้แกนซึ่งเหลาพอดีกับรูไม้ เอาใบหญ้าขัด(ขัดมอนนั้นเป็นก้อนยัดลงไปในรูกระบอก เอาแกนแยงจนสุดลำแล้วใส่ก้อนหญ้าอีกก้อน เอาแกนแยงเข้าไปอีกหญ้าก้อนแรกก็จะหลุดออกพร้อมกับเสียงดังโพละก้อนหญ้านี้อาจใช้ลูกหนามคัดเค้า หรือมะกรูดลูกเล็กแทนได้
·        ลูกโป่งยางละหุ่ง ใช้ยางที่กรีดจากต้นละหุ่งหรือจากการเด็ดใบ หาอะไรรองน้ำยางไว้ แล้วเอาดอกหญ้าขดเป็นวงจุ่มน้ำยางให้ติดขึ้นมา ค่อย ๆ เป่าตรงกลางบ่วงดอกหญ้า ยางละหุ่งจะยืดและหลุดเป็นลูกโป่งสีรุ้งแวววาว ลอยไปได้ไกลๆ แล้วไม่แตกง่ายด้วย

ของเล่นเด็กภาคอีสาน เล่นข้าวเหนียวติดมือ โดยเอาข้าวเหนียวมาปั้นจนได้ก้อนเท่าหัวแม่มือ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ให้ฝ่ายเริ่มเล่นส่งข้าวเหนียวต่อ ๆ กันโดยใช้มือประกบจนครบทุกคนแล้วให้อีกฝ่ายทายว่าข้าวเหนียวอยู่ในมือใคร
·        ดึงครกดึงสาก เอาเชือกมาพันครกตำข้าว ปลายเชือก ข้างผู้ไว้กลางด้ามสาก แต่ละข้างมีผู้ถือสาก คน แล้วออกแรงดึงพร้อม ๆ กัน ฝ่ายใดร่นมาติดครกถือว่าแพ้
·        แมวย่องเหยาะ ใช้ก้านมะพร้าวหรือก้านตาลเหลาให้เป็นเส้นเล็ก ๆ เอามาหักแล้วต่อเป็นรูปแมวย่องเหยาะ (ดังรูปแล้วให้ผู้เล่นฝ่ายแรกเริ่มเล่นโดยใช้มือจับส่วนใดส่วนหนึ่งของแมว โดยไม่ให้อีกฝ่ายเห็น แล้วให้อีกฝ่ายทายว่าจับตรงไหน ก่อนทายจะมีคนบอกใบ้ให้ เช่น ถ้าจับตรงหัวก็แกล้งเอามือเกาหัว ถ้าทายผิด ครั้ง ก็แพ้ไป
·        เล่นหมากพลู นำหมาก ปูน แก่นคูน ยาเส้น มาตั้งข้างหน้าผู้เล่นเป็นกอง ๆ ให้ผู้เล่นคนแรกส่ายมือเหนือสิ่งของที่กองไว้เร็ว ๆ อีกฝ่ายหนึ่งบอกชื่อสิ่งของ 10 อย่าง คนส่ายมือก็ตะครุบของสิ่งนั้นทันทีตะครุบผิด ก็ถูกทำโทษโดนเขกเข่า

ของเล่นของเด็กภาคใต้ ทางภาคใต้ของธรรมชาติที่เด็กนำมาเล่นกันมากคือมะพร้าวลูกยาง(พาราและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ซึ่งหาง่ายมีทุกจังหวัด
·        ของเล่นจากมะพร้าว ได้แก่ ชนควายพร็อกพร้าว อุปกรณ์การเล่นคือควาย พร็อกพร้าว โดยใช้เปลือกมะพร้าวทำลำตัว กะลามะพร้าวทำเขา และเม็ดมะกล่ำดำทำตา ทำเสร็จแล้วจะได้รูปแบบนี้คนเล่นจะทำควายพร็อกพร้าวมาคนละตัว แล้วมางัดกัน โดยใช้มือจับลำตัวควายหันหน้าคว่ำลงให้เขาทาบกับพื้น งัดไปงัดมา ของใครหักคนนั้นก็แพ้
·        ถีบลูกพร้าว ใช้มะพร้าวแก่จัดไม่ปอกเปลือก ผล ผู้เล่นแบ่งเป็นสองกลุ่ม จับไม้สั้นไม้ยาวหรือใช้วิธี ชันชี” เพื่อหากลุ่มผู้ถีบผลมะพร้าวกลุ่มแรก เมื่อเริ่มเล่นให้ทั้งสองกลุ่มยืนเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากันโดยยืนสลับกัน นำผลมะพร้าววางกลางวงวางกันมะพร้าวลงดิน จากนั้นผู้เล่นทั้งหมดจับมือกันให้แน่น ถ้าคนเล่นมี 6 คน คนจะถีบยับผลมะพร้าว อีก คนเป็นหลัก ถ้าฝ่ายถีบมีใครล้มก้นแตะพื้นก็แพ้ ให้ฝ่ายเป็นหลักมาถีบแทน
·        ร่อนใบพร้าว นำใบมะพร้าวที่ยังติดก้านมาตัดให้ด้านที่มีก้านโตเสมอกัน ใช้มือฉีกใบมะพร้าวออกให้มีขนาดเท่ากัน วิธีเล่นคือจับใบมะพร้าวชูขึ้นเหนือไหล่ จับส่วนที่เป็นใบซึ่งฉีกออกแล้วขว้างไปสุดแรง ใบมะพร้าวก็จะหลุดออกจากก้าน ใครขว้างได้ไกลที่สุดก็เป็นผู้ชนะ
·        ของเล่นจากลูกยาง ชักลูกยาง นำลูกยาง (พารามาเจาะเอาเนื้อออกหมด เจาะรูด้านบนด้านล่างและด้านข้าง ใช้ไม้ไผ่เหลาแล้วผูกติดกับเชือกด้ายสอดไม้ไผ่เข้าไปในเมล็ดยางทางรูด้านบนหรือด้านล่าง ดึงเชือกด้ายออกมาทางรูด้านข้าง ติดไม้ไผ่แบน ๆ ทางด้านบน ชิ้น เมื่อจะเล่นหมุนแกนให้เชือกด้ายม้วนเข้าไปอยู่ในลูกยางจนเกือบสุด ดึงปลายเชือกแรง ๆ แล้วปล่อย แกนไม้ไผ่ก็จะหมุนไปหมุนมาตามแรงดึง ผู้เล่นต้องดึงและปล่อยกลับอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้แกนและไม้ไผ่แบน ๆ ด้านบนกระทบกันของใครไม้ไผ่หลุด คนนั้นก็แพ้
·        ตอกเมล็ดยางพารา สถานที่เล่นควรเป็นพื้นไม้หรือซีเมนต์ ผู้เล่นมี คน จับไม้สั้นไม้ยาวเพื่อหาฝ่ายตั้งและฝ่ายตี ฝ่ายตีจะนำเมล็ดยางของฝ่ายตั้ง ตั้งลงกับพื้น แล้วนำเมล็ดยางของตัวเองวางข้างบนของฝ่ายตั้ง ใช้มือข้างหนึ่งจัดเมล็ดยางทั้งสองซ้อนกัน มืออีกขัางกำหรือแบตามถนัดตอกลงบนเมล็ดยางที่ซ้อนอยู่ ถ้าของฝ่ายใดแตก ฝ่ายนั้นก็แพ้
·        เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เล่นฟัดราว ต้องมีราวรางบนไม้หลักหรือกะลา มะพร้าวอย่างในรูป แล้วขีดเส้นเรียกว่า น้ำ” สำหรับ ฟัด” หรือขว้างระยะห่างไม่ใกล้ไม่ไกลนักแล้วผู้เล่นก็จะตกลงกันว่าจะลงหัวครก (เมล็ดมะม่วงหิมพานต์คนละกี่ลูก แล้วเอาหัวครกทั้งหมดที่ลงกองกลางมาเรียงบนราว จากนั้นก็ผลัดกันยืนที่เส้น น้ำ” แล้ว ฟัด” (ขว้างหัวครก เมล็ดไหนตกพื้น คนฟัดก็ได้ไป เล่นจนกว่าจะเบื่อ เมื่อเลิกก็เอา หัวครก” ที่ได้ใส่กระเป๋ากลับบ้าน หรือจะเผากันกันตรงนั้นเลยก็ได้

คุณค่าของการละเล่นไทย
การละเล่นของไทย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านเท่า ๆ กันกับเป็นการสะท้อนวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเนื่องจากเป็นการ เล่น” ซึ่งผู้ใหญ่บางคนอาจไม่เห็นคุณค่า นอกจากเห็นว่าเป็นแค่เพียงความสนุกสนานของเด็ก ๆ หนำซ้ำการละเล่นบางอย่างยังเห็นว่าเป็นอันตราย และเป็นการบ่มเพาะนิสัยการพนันอีก เช่น ทอยกอง หว่าหากจะมอง วิเคราะห์กันอย่างจริงจังแล้ว คุณค่าของการละเล่นของไทยเรานี้มีนับเอนกอนันต์ ดังจะว่าไปตามหัวข้อ 
ต่อไปนี้
ประโยชน์ทางกาย
อันได้จากการออกกำลังทั้งกลางแจ้งและในร่ม เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ เล่น จับปูดำ ขยำปูนา” หรือโยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ” เด็กก็จะได้หัดใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในตัวพร้อมกับทำท่าให้เข้ากับจังหวะ พอโตขึ้นมาหน่อยก็จะชอบเล่นกลางแจ้งกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มเล็กบ้างใหญ่บ้าง เช่น ขี่ม้าก้านกล้วย ตาเขย่ง ตีลูกล้อ วิ่งเปี้ยว ขี่ม้าส่งเมือง ตี่จับ เตย ฯลฯ การละเล่นบางอย่างมีบทร้องประกอบทำให้สนุกครึกครื้นเข้าไปอีก อย่าง รีรีข้าวสาร โพงพาง มอญซ่อนผ้า อ้ายเข้อ้ายโขง งูกินหาง นอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้วยังได้ฝึกความว่องไว ฝึกความสัมพันธ์ของการเก็งจังหวะแขนเท้า เช่น กาฟักไข่ ได้ฝึกการใช้ทักษะ ทางตาและมือในการเล็งกะระยะ เช่น การเล่นลูกหิน ทอยกอง
·        ฝึกความสังเกต ไหวพริบ และการใช้เชาวน์ปัญญา จากการละเล่นหลายชนิดที่ต้องชิ่งไหวชิงพริบกันระหว่างการต่อสู้ เช่น การเล่นกาฟักไข่ ผู้ขโมยจะหลอกล่อชิงไหวชิงพริบกับเจ้าของไข่ ซึ่งต้องคอยระวัง คาดคะเนไม่ให้ใครมาขโมยไข่ไปได้ หรือการเล่นแนดบกของทางเหนือ ผู้เล่นจะรู้สึกสนุกกับ การล่อหลอกแนดให้มาแตะ แล้วตัวเองต้องไวพอที่จะวิ่งเข้าวงก่อน การเล่นเตยหรือ ต่อล่อง คนล่องก็จะหลอกล่อให้ผู้กั้นเผลอ เพื่อให้ฝ่ายตนไปได้และผู้กั้นก็ต้องคอยสังเกตให้ดีว่า ใครจะเป็นคนผ่านไป
·        ฝึกวินัยและการเคารพต่อกติกา การละเล่นทุกอย่างมีกฏในตัวของมันเอง ซึ่งก็มาจากพวกเด็กนั่นเองเป็นคนช่วยกันกำหนดตกลงกันขึ้นมา การเล่นจึงดำเนินไปได้ โดยจะเห็นได้จากก่อนเล่นก็จะมีการจับไม้สั้นไม้ยาว เป่ายิงฉุบ จุ่มจะหลี้ (ของทางเหนือ คล้าย ๆ จ่อจีเจี๊ยบหรือ ฉู่ฉี้ (เป่ายิงฉุบของทางภาคใต้ มีปืน น้ำ ก้อนอิฐ แก้ว (น้ำหากใครไม่ทำตามกติกาก็จะเข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อน ๆ ไม่ได้ เป็นการฝึกการปรับตัวเข้ากับคนอื่นโดยปริยาย
·        ฝึกความอดทน เช่น ขี่ม้าส่งเมือง ผู้แพ้จะต้องถูกขี่หลังไปไหน ๆ ก็ได้ บางคนตัวเล็กถูกคนตัวใหญ่ขี่ก็ต้องยอม ถ้าไม่ทนก็เล่นกันไม่ได้ หรือเสือข้ามห้วย คนเป็น ห้วย” ต้องอดทนทำท่าหลายอย่างให้ผู้เป็น เสือ” ข้าม บางครั้งต้องเป็น ห้วย” อยู่นาน เพราะไม่มีเสือตัวใดตาย หรือหา เสือ” ข้ามได้หมด ห้วย” ก็ถูกลงโทษ ถูก เสือ” หามไปทิ้งแล้ววิ่งหนี ห้วย
·        ฝึกความสามัคคีในคณะ อย่างเช่น ตี่จับในขณะที่ผู้เล่นของฝ่ายหนึ่งเข้าไป ตี่” เพื่อให้ถูกตัวผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจะได้วิ่งกลับฝ่ายของตน โดยไม่ถูกจับเป็นเชลยนั้น ผู้เล่นอีกฝ่ายต้องพร้อมใจกันพยายามจับผู้เข้ามา ตี่” ไว้อย่าให้หลุดมือ เพราะถ้าหลุดกลับไปฝ่ายของตน ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องกลับไป เป็นเชลยทั้งกลุ่ม หรืออย่างชักคะเย่อ ผู้เล่นของแต่ละฝ่ายต้องพร้อมใจกันออกแรงกันสุดฤทธิ์สุดเดช เพื่อให้เครื่องหมายที่กึ่งกลางของเชือกเข้าไปอยู่ฝ่ายตน
·        ฝึกความซื่อสัตย์ ผู้เล่นเป็นคนหาต้องผิดตาให้มิดในขณะที่คนอื่น ๆ วิ่งไปซ่อน อย่างคำร้องประกอบการเล่นชนิดนี้ว่า ปิดตาไม่มิด สารพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนา ได้ข้าวเม็ดเดียว” หรือหมากเก็บอีตัก ถ้ามือของผู้เล่นไปแตะถูกก้อนหินหรือเม็ดผลไม้ก็ต้องยอม ตาย” ให้คนอื่นเล่นต่อ แม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
·        ฝึกความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามกติกาไม่ว่าจะเป็นการเล่นอะไร ถือว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบของผู้เล่น เช่น เล่นหมุนนาฬิกา ผู้เล่นทุกคนต้องจับมือกันให้แน่นแล้วหงายตัว เอาเท้ายันกัน คนยืนสลับต้องจับมือคนหนึ่งให้แน่น ๆ แล้ววิ่งรอบ ๆ เป็นวงกลมเหมือนนาฬิกา ทุกคนจึงต้องรับผิดชอบจับมือหรือยันเท้าให้มั่น จึงจะหมุนได้สนุก

การละเล่นของเด็กไทยสะท้อนความเป็นไทย
การละเล่นของเด็ก บทร้องประกอบการเล่น ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ใช้เป็นของเล่นสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม และความเชื่อของคนไทยในสมัยก่อนได้อย่างชัดเจน เห็นภาพ ดังต่อไปนี้
·        ภาพของเด็กไทยสมัยก่อน จากบทร้องล้อเลียน ผมจุก คลุกน้ำปลา เป็นขี้หมา นั่งไหว้ กระจ๊องหง่อง” หรือ ผมแกละ กระแดะใส่เกือก ตกน้ำตาเหลือก ใส่เกือกข้างเดียว” ก็ทำให้เห็นภาพเด็กสมัยโบราณที่ส่วนใหญ่ไว้ผมจุก ผมแกละกันทั้งเมือง
·        ความเป็นอยู่ของผู้ใหญ่ จากบทร้องจ้ำจี้ สาวสาวหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน อาบน้ำท่าวัดทำให้นึกภาพของบ้านเรือนสมัยโบราณซึ่งมักอยู่กันริมน้ำ อาบน้ำกันที่ท่า สัญจรกันด้วยเรือเป็นส่วนใหญ่ หรือการละเล่นชนควายด้วยศรีษะ ชนควายพร็อกพร้าว เป็นการเลียนแบบการชนควายชนวัวซึ่งเป็นที่นิยมกันมากทางภาคใต้ ส่วนทางภาคอีสานก็มีการละเล่นดึงครกดึงสาก ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักในการทำมาหากินเพื่อดำรงชีพของชาวนา เป็นต้น
·        สะท้อนการทำมาหากินของคนไทย มีการละเล่นและบทร้องประกอบการละเล่นหลายอย่างที่กล่าวถึงข้าววัวควายที่ช่วยไถนาและการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของคนไทยตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน อย่าง รีรีข้าวสาร การเล่นขโมยลักควาย (ทางใต้นอกจากทำนาแล้วยังมีการค้าขายจับปลา เช่น เล่นขายแตงโมซึ่งมีบทเจรจา ผู้เล่นสมมติ เป็นแตงโม มีผู้มาซื้อและพูดกับเจ้าของ โพงพาง มีบทร้องที่ว่าปลาตาบอดเข้าอดโพงพาง” หรือผีสุ่ม กล่าวถึงการจับปลาโดยใช้สุ่ม
·        ความเชื่อ การละเล่นบางอย่างสะท้อนให้เห็นความเชื่อของชาวไทยในเรื่องไสยศาสตร์ เช่นการละเล่นที่มีการเชิญคนทรงอย่าง แม่ศรี ลิงลม ย่าด้ง เป็นต้น ทางภาคอีสานจะมีการละเล่นที่สะท้อนความเชื่อหลายอย่างเช่น เล่นนางดงแล้วจะขอฝนได้สำเร็จ เล่นผีกินเทียนแสดงความเชื่อเรื่องผี มีทั้งกลัวและอยากลองผสมกัน หรือผีเข้าขวด ซึ่งมีทั้งภาคอีสานและทางภาคใต้ ทางอีสานก็มีเล่นแม่นาคพระโขนง และมะล๊อกก๊อกแก๊ก ซึ่งเป็นบทโต้ตอบระห่างผู้เล่นที่สมมุติ เป็นผีกับเด็กคนอื่น ๆ แล้วจบลงที่ผีวิ่งไล่จับเด็กเป็นผีกับเด็กคนอื่น ๆ แล้วจบลงที่ผีวิ่งไล่จับเด็เป็นที่น่าสนุกสนานและ ตื่นเต้นด้วยความกลัวผีไปพร้อม ๆ กัน
·        ค่านิยม ในเรื่องของมารยาท ถือว่าคนมีมารยาทเป็นคนมีบุญ คนที่มารยาททรามเป็นคนอาภัพ ดังในคำร้องจ้ำจี้ว่า 
จ้ำจี้เม็ดขนุน ใครมีบุญได้กินสำรับ 
ใครผลุบผลับ ได้กินกะลา (หรือกินรางหมาเน่า)”

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว มีบทร้องว่าลูกเขยต้องกตัญญูต่อแม่ยาย ในบทเล่นจ้ำจี้อีกบทว่า 
จ้ำจี้ดอกเข็ม มาเล็มดอกหมาก 
เป็นครกเป็นสาก ให้แม่ยายตำข้าว 
เป็นน้ำเต้า ให้แม่ยายเลียงชด 
เป็นชะมด ให้แม่ยายฝนทา ฯลฯ 
ค่านิยมที่แม่มีลูกชายก็พาไปบวช ถือเป็นกุศลแก่คนเป็นแม่ว่า 
จ้ำจี้จ้ำจวด พาลูกไปบวชถึงวัดถึงวา ฯลฯ 
การยกย่องขุนนางว่าเป็นผู้ได้ผลประโยชน์กว่า ว่า 
ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง 
ขุนนางมาเอง มาเล่นซักส้าว 
มือใครยาว สาวได้สาวเอา 
มือใครสั้น เอาเถาวัลย์ต่อเข้า

คุณค่าทางวรรณศิลป์

      

บทร้องประกอบการละเล่นของเด็กไทย หากไม่อยู่ในรูปของฉันทลักษณ์ ก็จะมีคำคล้องจองกันอยู่ในรูปของฉันลักษณ์ ก็จะมีคำคล้องจองกันมีสัมผัสนอกสัมผัสใน เท่ากับเป็นการแทรกซึมวิสัยความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนกันตั้งแต่ยังเป็นเด็กตัวเล็กตัวน้อยกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นของภาคกลาง 

ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ซึ่งในแต่ละภาคก็จะสอดแทรกภาษาท้องถิ่นของตนเข้าไปด้วยนอกจากนั้นมีการเลียนเสียงต่าง ๆ หรือออกเสียงแปลก ๆ ซึ่งทำให้เด็ได้ฝึกลิ้น เช่น 
เลียนเสียงนก 
จ้ำจี้เม็ดขนุน...นกขุนทองร้องวู้
เลียนเสียงกลอง 
ผมเปียมาเลียใบตอง พระตีกลอง ตะลุ่มตุ่มเม้ง
เลียนเสียงร้องไห้ 
ขี้แย ขายดอกแค ขายไม่หมดร้องไห้แงแง
คำแปลก ๆ มักจะปรากฎบ่อยมาก แม้ว่าจะไม่มีความหมายแต่ฟังแล้วก็รู้สึกสนุก ทำให้เด็กชอบ 
เช่นเท้งเต้ง” “โตงเตงโตงเว้า” “กระจ๊องหง่อง” “ออระแร้ ออระชอน” “มะล้อกก๊อกแก๊ก” “จีจ่อเจี๊ยบไ ตะโลนโพนเพน” “ตุ๊ยตู่ ตุ๊มเดี่ยว
บางบทใช้ภาพพจน์ทำให้เกิดความงามในภาษา เช่นบทร้องของทางใต้บทหนึ่งว่า 
เชโคโยย่าหนัด ฉัดหน้าแข้ง เดือนแจ้ง ๆ มาเล่นเชโชค
ทร้องบาทบทใช้คำท่เป็นสัญลักษณ์แฝง ความหมายในแง่เพศสัมพันธ์ เช่น 
จ้ำจี้มะเขือพวง เมียน้อยเมียหลวง 
มากินก้ามกุ้ง ก้ามกุ้งร้องแง้ 
มาสอยดอกแค มาแหย่รูปู 
อีหนูตกระได กลางคืนเมาเหล้า 
เตะหม้อข้าวปากปิ่น หม้อข้าววิ่งหนี 
สาระพีเล่นกล กระจ่าสวดมนต์ 
รับศีลรับพระ
คุณค่าในการใช้ภาษาสื่อสาร
เป็นที่น่าสังเกตว่าบทร้องและบทเจรจาโต้ตอบนั้นมีคุณค่าในการสื่อสารอยู่มาก กล่าวคือ ทำให้เด็ก ๆ ได้คุ้นเคยกบคำที่ใช้เรียกชื่อ หรือใช้บอกกริยาอาการต่าง ๆ ช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาโดยไม่รู้ตัว ในบทเจรจาโต้ตอบก็เป็นคำถาม คำตอบสั้นๆ มีเนื้อความเป็นเรื่องเป็นราวเป็นคำพูดในชีวิตประจำวันบ้าง ดังในบทเล่นแม่งูหรือแม่งูสิงสางของภาคเหนือ บักมี่ดึงหนังของภาคอีสาน หรือฟาดทิงของทางใต้ 

บทโต้ตอบบักมี่ดึงหนัง
ถาม ขอกินบักพ่าวแน (มะพร้าว)
ตอบ ยังบ่ได้ต่อย (สอย)
ถาม ขอกินกลอยแน 
ตอบ บ่ทันได้นึ่ง 
ถาม ขอกินบักมี่สุกแน 
ตอบ หน่วยใดสุกเอาเลย

บทโต้ตอบฟาดทิง 
แม่ทิง มาแต่ไหน 
ผู้เล่น มาแต่เผาถ่าน 
แม่ทิง เผาถ่านทำไหร (ทำอะไร)
ผู้เล่น เผาถ่านตีเมด (มีด)
แม่ทิง ตีเมดทำไหร 
ผู้เล่น ตีเมดทำไหร 
ผู้เล่น ตีเมดเหลาหวาย 
แม่ทิง เหลาหวายทำไหร 
ผู้เล่น เหลาหวายสานเชอ (กระเชอ)
แม่ทิง สานเชอทำไหร 
ผู้เล่น สานเชอใสทิง 
แม่ทิง ทิงไหน 
ผู้เล่น ทิงนั่นเเหละ (ชี้ไปที่แม่ทิง)

การใช้ภาษาในการเล่นทายปริศนา
ปริศนาหรือคำทายต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ชอบเล่นทายกันนั้นวิเคราะห์ได้ว่า เป็นวิธีการที่ส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสัมพันธ์กับการใช้ภาษาทั้งนี้เพราะปริศนาก็คือ การตั้งคำถามให้เด็กคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเคยพบ เคยห็นมา ใครช่างสังเกตรู้จักคิดเปรียบเทียบความหมายของคำทายกับสิ่งที่ตนเคยพบเห็น ก็สามารถทายถูก ความสนุกจากการทายถูกจะเป็นแรงจูงใจให้เด็กพยายามใช้ความสังเกตควบคู่ไปกับการใช้ภาษาเพิ่มขึ้น เช่น

อะไรเอ่ย เรือนสองเสา หลังคาสองตับ นอนไม่หลับลุกขึ้นร้องเพลง 
คำตอบ ไก่ขัน
อะไรเอ่ย ซื้อมาเป็นสีดำ นำไปใช้กลายเป็นสีแดง พอสิ้นแรง กลายเป็นสีเทาต้องเอาไปทิ้ง 
คำตอบ ถ่าน
(ภาคเหนือตุ้มกุ๋บขึ้นดอย ก้าบฝอยล่องห้วย (หลังนูน ๆ ขึ้นดอย ครบฝอยไปตามลำธาร
คำตอบ เต่าและกุ้ง
(ภาคใต้พร้าวเซกเดียวอยู่บนฟ้า คนทั้งพาราแลเห็นจบ 
คำตอบ พระจันทร์เสี้ยว 

(ภาคอีสานช่างขึ้นภู ต๊บหูปั๊ว ๆ แมนหญัง (ช้างขึ้นภูเขา ตบหูปั๊ว ๆ อะไรเอีย)
คำตอบ หูกทอผ้า

นับวันการละเล่นของไทยจะหายไป
นี่คือความเป็นจริงที่น่าเสียดายเช่นเดียวกับประเพณีของไทยอีกหลาย ๆ อย่าง ซึ่งจะอยู่ยงคงได้ก็ต่อเมื่อคนไทยเท่านั้นที่รับสืบทอดมาปฏิบัติ โดยมิอาจจะอนุรักษ์เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ดังเช่น วัตถุโบราณได้ เมื่อยุคสมัยผันแปรไป ค่านิยม ความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนแปลงไปจากวิถีการดำรงชีวิตในอดีตอย่างมากมาย 
น่าเสียดายที่ว่าในปัจจุบันของเล่นต่าง ๆ มากมายทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ได้เข้ามาแทนที่การละเล่นต่าง ๆของสมัยก่อนซึ่งแทบจะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย หรือถ้ามีก็จะเป็นอุปกรณ์การเล่นที่นำมาจากธรรมชาติ หรือของใช้ในครัวเรือน หรือไม่ก็คิดประดิษฐ์กันเอาเองไม่ต้องซื้อหา 
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ โทรทัศน์ และวิดีโอ ซึ่งเด็กสมัยนี้ติดกันมาก แทบจะแกะตัวออกมาจากหน้าจอไม่ได้ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไมเด็กสมัยนี้ถึงมีร่างกายกระปรกกระเปรี้ย สายตาสั้นพัฒนาการทางภาษาไม่กว้างไกล นี่ยังไม่นับเด็กอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเด็กวัยรุ่นหรืออย่างเข้าวัยรุ่นที่กำลังหลงแสงหลงเสียงเพลงในตลับ ซึ่งภาษาในเนื้อเพลงแทบจะหาคุณค่าทางวรรณศิลป์ไม่เจอเอาเสียเลย 
เป็นเรื่องน่าคิดว่า สิ่งที่เข้ามาแทนที่ของเก่านั้น ผู้เป็นพ่อแม่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กไทยทั้งหลายได้เลือกสรรสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์แก่เด็กอย่างแท้หรือไม่

ทัศนะต่อการละเล่นของเด็กไทย

พต.หญิง คุณหญิงผะอบ โปษะกฤษณะ ผู้ก่อตั้งโครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นท่านผู้หนึ่งที่ทำการวิจัย และรวบรวมการละเล่นของเด็กภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กรุณาให้ทัศนะถึงเรื่องนี้ว่า 
ประโยชน์ของการเล่นไม่ใช้แค่ให้เติบโตแข็งแรง มันยังให้ความรับผิดชอบ การรักษาระเบียบวินัย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรากำลังไขว่คว้าหากันอยู่ การเล่นจะทำให้เกิดความเคารพกติการ รู้แพ้ รู้ชนะ ฝึกจิตใจให้เป็นคนดี และได้หัดภาษาไทยด้วย การเล่นของเด็กไทยโบราณก็นำมาใช้ได้ดีกับเด็กยุคนี้ เพราะมันเล่นที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องใช้ที่กว้างก็ได้ วัสดุการเล่นก็ใช้ตามท้องถิ่นได้สบาย แต่การเล่นบางอย่างที่มีการพนันด้วยก็ไม่ดี อย่างโยนหลุม ทอยกอง หรือยิงหนังสติ๊ก มันก็อันตราย ต้องระวัง 
เด็กวัยรุ่นสมัยนี้ไปเล่นเพลง เล่นเทปกันหมด นอนฟังในห้อง ไม่ค่อยจะไปไหน แล้วยังทีวี วิดีโอ พ่อแม่ก็ปรนเปรอให้ เลยไม่รู้จักการเล่น ไปเพลิดเพลินกับเสียงแสงสีเสียงหมด การเล่นกลางแจ้งกายไป ความจริงการเล่นกลางแจ้งมีประโยชน์มาก มันได้อากาศบริสุทธิ์ อวัยวะต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวเติบโต ผู้ใหญ่ก็เล่นได้ ดิฉันนี่เล่นจนถึง ม.8 เลย อย่างวิ่งเปี้ยว วิ่งสามขา วิ่งกระสอบ สะบ้า สนุกมาก 
และอีกทัศนะหนึ่งจาก
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านพลศึกษา กรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการว่า 
ในหลักสูตรชั้นประถมมีการละเล่นคละกันทั้งไทย และที่ดัดแปลงจากต่างประเทศ ของไทยก็มีตั้งแต่ วิ่งวัวเป็นตัน แต่จะไม่เป็นรูปแบบที่เป็นทางการ มีเพื่อให้เด็กสนุกได้ออกกำลัง และเพื่ออนุรักษ์การเล่นของเก่าให้คงอยู่ 
สาเหตุที่การละเล่นของไทยเสื่อมความนิยมไปก็เนื่องมาจากการมีกีฬาสากลเข้ามาเล่นกันมาก และมีการส่งเสริมแข่งขันจนเป็นที่แพร่หลายกว่า 
บ้านเมืองเจริญขึ้น คนต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจโอกาสที่จะเล่นก็น้อยลงไม่มีหน่วยงานใดรับผิดขอบในการอนุรักษ์เรื่องนี้โดยตรง 
เด็กไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯเรียนหนักขึ้นแข่งขันกันมากขึ้น มีการเน้นการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ จนไม่สนใจการเล่น 
คนไทยใช้เวลาพักผ่อนกับการดูทีวี วิดีโอ หรือฟังวิทยุกันมาก ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย 
และการเล่นแบบไทย ยังไม่ได้จัดเข้าระบบการแข่งขันแบบสากลมันจึงไม่เร้าใจ ไม่สามารถจะอยู่คงทนต่อไปได้ หากมีการอนุรักษ์เป็นประเพณีท้องถิ่นก็จะอยู่ได้ถาวร 
การละเล่นของไทยเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นไทย ถ้าไม่มีการเล่นกันต่อไปมันก็จะสูญ ถ้าไม่มีการกระตุ้น สนับสนุน ต่อไปก็จะไม่เหลือ เราต้องช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรมันจึงจะแพร่หลาย
ขอขอบพระคุณ พต.หญิงคุณหญิง ผอบโปษะกฤษณะ ประธานอนุกรรมการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทยที่กรุณาให้คำแนะนำปรึกษารวมทั้งเอกสารประกอบการค้นคว้า และสไลด์ภาพประกอบการละเล่นของเด็กไทย 
คุณจิตรลดา ทัชชะวณิช หัวหน้าบรรณารักษ์ห้องสมุดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่กรุณาอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าเรื่องการละเล่นของเด็กไทยนี้